28 สิงหาคม 2563

Record 4

บันทึกอนุทินครั้งที่ 4
วันศุกร์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ.2563
เวลาเรียน 08:30-12:30 น.


  วันนี้เป็นการนำเสนอการทดลองให้กับเพื่อนๆ ดูทีละคน การทดลองมีหลากหลายวิธี แต่การทดลองก็จะมีวิธีการขั้นตอนในการทำ

            1. ต้องแนะนำอุปกรณ์สำหรับการทดลองให้กับเด็กๆ เพื่อที่เด็กจะได้รู้จัก
            2. การแนะนำอุปกรณ์ต้องแนะนำที่ละอย่าง ละวางจากซ้ายไปขวาของเด็ก เนื่องจากเป็นการลงที่ถูกต้องเพราะว่า เราอ่านหนังสือจากซ้ายไปขวา
            3. เริ่มสาธิตการทดลองให้เด็กดู อาจจะให้เด็กมีส่วนร่วมในการทำด้วย
            4. ต้องมีตั้งสมมุติฐานให้กับเด็ก เพื่อที่จะให้เด็กได้รู้จักการสังเกตการเปลี่ยนแปลงไหม
            5. พอทำการทดลองเสร็จจะต้องถามว่า ตรงกับที่เด็กคิดไหมและถ้าตรงหรือไม่ตรง ก็ให้เด็กๆลองคิดว่ามันเกิดขึ้นได้อย่างไร เด็กๆก็จะมีส่วนร่วมในการตอบและคิด
            6. สรุปให้กับเด็กว่ามันเกิดขึ้นได้อย่างไรและตรงกับสมมุติฐานไหม

    👉การที่เราจะจัดการเรียนรู้ให้กับเด็กจะต้องจัดสภาพแวดล้อมที่มีผลต่อการเรียนรู้ให้เก็บเด้กด้วย
           ถ้าเด็กๆนั่งครึ่งวงกลม ครูไม่ควรที่จะอยู่กลางวง ครูควรอยู่บนเด็กเพื่อที่เด็กคนแรกจะได้มองเห็น
          
คำศัพท์
            1.Pressure        ความดัน
            2. Density        ความหนาแน่
            3.Link              เชื่อมโยง
            4. Demonstration  สาธิต
            5. Carbon dioxide gas  ก๊าซคาร์บอนไดออกไซ
ประเมิน
           ประเมินตนเอง : ตั้งใจดูเพื่อนสาธิตการทดลอง
           ประเมินเพื่อน : ตั้งใจอธิบายในสิ่งที่ตนเองกำลังสาธิตการทดลอง
           ประเมินอาจารย์ : อธิบายเพิ่มเติม และคอมเม้นให้เพื่อนๆ ที่ออกไปสาธิต

21 สิงหาคม 2563

Record 3


บันทึกอนุทินครั้งที่ 3
วันศุกร์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ.2563
เวลาเรียน 08:30-12:30 น.



วิทยาศาสตร์ (Science)
วิทยาศาสตร์ คือ ความพยายามของมนุษย์ที่จะเรียนรู้เเละทำความเข้าใจรอบตัวเเละตัวตนของตนเอง

  ความพยายามเช่นนี้ติดตัวของมนุษย์ตั่งแต่เเรกเกิด ซึ่งสะท้อนให้เห็นจากธรรมชาติรอบตัวของเด็กที่มีความอยากรู้อยากเห็นช่างสังเกตเเละคอยชักถามเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ที่พวกเขาเจอ

  การทำความเข้าใจสิ่งรอบตัวเเละตัวตนของตนเองโดยการสังเกตเเละคอยชักถามเกี่ยวกับสิ่งต่างๆที่พวกเขาเจอช่วยเชื่อมโยงของสมองของเด็กโดยเฉพาะเด็กเล็กๆ เพราะสงเสริมให้เด็กคิดและเป็นการเตรียมการเรียนรู้ได้มากขึ้น

การจัดประสบการณ์ (Experience)
การจัดประสบการณ์ คือ การจัดกิจกรรม และการจัดสภาพแวดล้อมทั้งภายนอกและภายในห้องเรียนโดยให้ได้รับประสบการณ์ตรงจากการเล่น การลงมือปฏิบัติ ซึ่งจะทำให้เกิดการเรียนรู้ได้ดี และเพื่อส่งเสริมพัฒนาการให้ครบทั้ง ด้าน คือ ด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและสติปัญญา

เป้าหมายการจัดประสบการณ์
    1.เนื้อหา
    2.สาระการเรียนรู้
    3.ความรู้

สาระสำคัญ มาจากหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย2560 )🌻

      1.เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก
      2.บุคคลเเละสถานที่สิ่งเเวดล้อม
      3.ธรรมชาติรอบตัว
      4.สิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก

เวลาทำการทดลองต้องมาจาก☁️
     1.สิ่งที่เด็กสนใจ
     2.สิ่งที่อยู่ใกล้ตัว
     3.ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับเด็ก

การจัดประสบการณ์ต้องรู้อะไรของเด็ก?👶🏻

      1.พัฒนาการ การความสามารถของเด็กที่เป็นไปตามลำดับขั้นตอนะระดับอายุ ที่เกิดจากการทำงานของสมอง เช่นการอยากรู้ การเลียนแบบ เป็นพฤติกรรมที่สะท้อนให้เห็นถึงพัฒนาการ
       2.ความต้องการ คือ ปลายที่สะท้อนความต้องการออกมา

นิยามของคำว่า การเล่น 🧸
       คือ วิธีการ (ที่ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ลงมือกระทำด้วยประสาทสัมผัสทั้งโดยผ่านการเล่นเพื่อให้เด็กมีความสุข

ถ้าผู้ใหญ่ไม่เข้าใจธรรมชาติของเด็ก🌻
      -ปิดกั้นโอกาสการเรียนรู้ของพวกเขาโดยการไม่ให้ความสนใจกัน
      -ไม่ให้ความสนใจกับการค้นพบเเบบเด็กๆ
      -ไม่จัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่จะส่งเสริมเเละต่อยอดทักษะเเละเเนวคิดที่ถูกต้องให้กับเด็กได้อย่างเหมาะสม

👶🏻ทบทวนบทบาท👶🏻
       -เปิดโอกาสทางการเรียนรู้ของพวกเขาโดยการให้ความสนใจกับคำถาม
       -ให้ความสนใจกับการค้นพบเเบบเด็กๆ
       -จัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่จะส่งเสริมและต่อยอดทักษะเเละเเนวคิดที่ถูกต้องให้เด็กอย่างเหมาะสม
      -ครูเเละผู้ปกครองต้องยอมรับในเรื่องจินตนาการของเด็กที่มีอยู่สูงในวัยนี้


คำศัพท์
1.Event : เหตุการณ์
2.Fragrant : หอม
3.Creature : สิ่งมีชีวิต
4.Classify : แยกประเภท
5.Process :กระบวนการ

การประเมิน
ประเมินตนเอง : ตั้งใจฟังอาจารย์ในขณะที่อาจารย์สอนเเละจดลงสมุด
ประเมินเพื่อ :เพื่อนๆตั้งใจเรียนเเละเป็นผู้ฟังที่ดี เเละช่วยกันเเสดงความคิด
ประเมินอาจารย์อาจารย์ตั้งใจสอนอธิบายได้ชัดเจนเข้าใจง่าย พร้อมยกตัวอย่างต่างๆ

15 สิงหาคม 2563

ARTICLES

 สอนลูกเรื่องกลางวัน กลางคืน (Teaching Children about Day and Night)


          การสอนลูกเรื่องกลางวัน กลางคืน (Teaching Children about Day and Night) หมายถึง การจัดกิจกรรมให้เด็กปฐมวัยได้เรียนรู้ และเห็นถึงสภาพธรรมชาติที่มีกลางวันซึ่งเป็นระยะเวลาตั้งแต่ย่ำรุ่งถึงย่ำค่ำ หรือตั้งแต่พระอาทิตย์ขึ้นจนพระอาทิตย์ตก และกลางคืนซึ่งหมายถึงระยะเวลาตั้งแต่ย่ำค่ำถึงย่ำรุ่ง หรือตั้งแต่พระอาทิตย์ตกจนพระอาทิตย์ขึ้น สลับเปลี่ยนหมุนเวียนไปทุกวันๆ ในยามกลางวันคนเราจะเห็นสิ่งต่างๆ จะรู้สึกอบอุ่นและร้อน ตามลำดับเวลาที่ดวงอาทิตย์เปลี่ยนตำแหน่ง เห็นท้องฟ้าสว่าง มีก้อนเมฆเคลื่อนไปบนท้องฟ้า จนกระทั่งดวงอาทิตย์ลับหายไปจากขอบฟ้า คนเราจะเห็นดวงจันทร์ และดวง ดาวมาแทน อากาศรอบตัวเราจะค่อยๆเย็นลง เราจะรู้สึกหนาว จะเข้าไปอยู่ในบ้านเพื่อความอบอุ่น ท้องฟ้าจะมืด เด็กๆได้ไปโรงเรียนในเวลากลางวัน และได้เล่นสนุกสนาน แต่ในเวลากลางคืน ทุกคนจะนอนหลับพักผ่อน ความมืดทำให้เรามองอะ ไรไม่เห็นหรือไม่ชัดเจน เด็กๆมักกลัวความมืด กลัวสัตว์บางชนิดส่งเสียงมาโดยเราไม่เห็นตัวมัน เรื่องราวเหล่านี้อยู่ในชีวิต ประจำวันของคนเราทุกคน สภาพกลางวันกลางคืนเป็นธรรมชาติที่เกิดขึ้นทุกวัน และส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของคน พืช สัตว์ จึงเป็นเรื่องใกล้ตัวเด็กที่เด็กๆควรเรียนรู้ หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 จึงกำหนดไว้ในโครงสร้างของหลักสูตร ให้เด็กปฐมวัยได้เรียนสาระเกี่ยวกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมตัวเด็ก ซึ่งเรื่องกลางวัน กลางคืน เป็นเรื่องหนึ่งที่เกี่ยวกับธรรมชาติดังที่กล่าวมา ที่ควรจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพิ่มพูนประสบการณ์ให้แก่เด็กปฐมวัย

การสอนเรื่องกลางวัน กลางคืนสำคัญอย่างไร?

การกำหนดให้เด็กเรียนรู้เรื่องกลางวัน กลางคืน เป็นเรื่องสำคัญอีกเรื่องหนึ่งดังนี้
  • -เป็นวิทยาศาสตร์ คือเป็นความรู้ที่ได้จากการสังเกต และค้นคว้าเชิงประจักษ์ กลางวัน กลางคืนเป็นเรื่องราวเกี่ยว กับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็ก ที่มีการค้นคว้าไว้ มีหลักฐานที่นำมาจัดไว้อย่างเป็นระเบียบ จึงควรสนับสนุนให้เด็กเรียนรู้
  • -เป็นเรื่องใกล้ตัวเด็ก สิ่งต่างๆที่มีชีวิต คือ คน พืช สัตว์ ล้วนมีวิถีชีวิตที่เกี่ยวข้องกับกลางวัน กลางคืนทั้งสิ้น เช่น การตื่นนอนและเห็นสรรพสิ่งต่างๆได้ จากแสงอาทิตย์ที่ปรากฏให้เห็นในเวลากลางวัน พืชจะเจริญเติบโตเมื่อได้รับแสงอา ทิตย์ นกกาโบยบินออกหากินในเวลากลางวันเป็นส่วนมาก และในเวลากลางคืน เราจะนอนหลับพักผ่อน เรามองเห็นดวงจันทร์ ดวงดาว เมื่อท้องฟ้ามืดในยามกลางคืน สัตว์บางชนิดส่งเสียง และออกหากินในเวลากลางคืน ฯลฯ
  • -เป็นการสร้างความตระหนักรู้ถึงคุณค่าของธรรมชาติ เป็นสิ่งจำเป็นที่ควรปลูกฝังให้เด็ก เพื่อการนำไปใช้และรัก ษาธรรมชาติ กลางวันเราได้รับแสงสว่างและความร้อนจากดวงอาทิตย์ เราได้ถนอมอาหารโดยอาศัยความร้อนจากแสงอา ทิตย์ ต้นไม้เจริญเติบโต เพราะใช้แสงอาทิตย์เป็นปัจจัยในการปรุงอาหาร คนเราและสัตว์ก็กินพืชเป็นอาหารอย่างเป็นวงจร สิ่งที่กล่าวมาเป็นเรื่องที่คนเราควรรู้คุณประโยชน์และรักษาธรรมชาติไว้
  • -เด็กปฐมวัยควรได้รับการพัฒนาทักษะในการดำรงชีวิตให้อยู่รอดท่ามกลางธรรมชาติ จึงควรเรียนรู้ความเป็นธรรม ชาติของสรรพสิ่งที่อยู่รอบตัว รวมทั้งเรื่องกลางวัน กลางคืน เพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหา
  • -เรื่องราวของธรรมชาติรอบตัวเป็นของการเกิดขึ้นอย่างมีเหตุผล จึงสามารถนำไปสร้างนิสัยความสงสัยใคร่รู้ให้แก่เด็กได้เป็นอย่างดี จะทำให้เด็กสนุกที่จะเรียนรู้ด้วยการสังเกต และตรวจสอบข้อสงสัย ซึ่งเป็นกระบวนการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์

การสอนเรื่องกลางวัน กลางคืนมีประโยชน์ต่อเด็กอย่างไร?

  • -การเรียนรู้เรื่องกลางวัน กลางคืน จะเป็นการตอบสนองธรรมชาติของเด็กปฐมวัย ที่สนใจใคร่รู้เรื่องราวธรรมชาติและสิ่งต่างๆรอบตัว เราจะสังเกตเห็นว่าเด็กจะร่าเริงเบิกบาน เมื่อเขาวิ่งเล่นกลางแสงแดดอุ่นๆ ฟังเสียงนกร้อง และเล่นทำเสียงเลียนแบบได้ เด็กจะพอใจที่ได้เห็นสรรพสิ่งทั้งหลาย และได้สัมผัสสิ่งเหล่านั้น จึงเป็นโอกาสทองที่ผู้ใหญ่จะสนับสนุนให้เด็กเรียนรู้ธรรมชาติอย่างมีความสุข และสนุกที่จะค้นคว้าต่อไป
  • -เด็กจะเกิดคุณลักษณะที่พึงประสงค์ คือการมีเจตคติที่ดีทางวิทยาศาสตร์ ได้แก่ การเป็นคนช่างสังเกตสภาพธรรม ชาติของกลางวันกลางคืน รู้เหตุและผลของสิ่งที่เกี่ยวกับกลางวัน กลางคืน เช่น กลางวันมีดวงอาทิตย์ ที่ทำให้เกิดแสง แสงเมื่อส่องกระทบตัวเราจึงเป็นเงา เด็กจะรู้จักคิดสงสัย และถามคำถามง่ายๆเหมาะสมตามวัย ที่สามารถนำไปสู่การแก้ปัญหาและการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆได้ต่อไป
  • -การที่เด็กเข้าใจและชื่นชอบธรรมชาติ เป็นความงดงามของจิตใจที่นำไปสู่การรู้คุณค่าของธรรมชาติ ที่จะใช้และรักษาธรรมชาติให้คงอยู่อย่างเหมาะสม
  • เด็กจะเกิดทักษะการแสวงหาความรู้ เพราะเด็กมีโอกาสสังเกต และตรวจสอบข้อสงสัยเรื่องกลางวัน กลางคืนที่เป็นเรื่องธรรมชาติ

ครูสอนเรื่องกลางวัน กลางคืนให้ลูกที่โรงเรียนอย่างไร?

  • -กิจกรรมสร้างสรรค์ ครูอาจให้เด็กระบายสีภาพเหตุการณ์ กลางวัน กลางคืน เช่น ภาพดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ดวง ดาว ท้องฟ้ายามกลางวัน หรือภาพเหตุการณ์กลางคืน ภาพนกฮูก ค้างคาว หนูซึ่งเป็นสัตว์ที่ออกหากินเวลากลางคืน ภาพไก่ขันยามเช้า ภาพเด็กๆไปโรงเรียน แสดงเวลายามเช้าผ่านงาน ฉีก ตัดกระดาษอย่างอิสระ หรือนำกระดาษรูปทรงเรขาคณิตมาออกแบบ สิ่งที่เกี่ยวกับกลางวัน กลางคืน เช่น ตัดรูปวงกลมเป็นดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์เต็มดวง ตัดครึ่งวงกลมเป็นดวงจันทร์ครึ่งดวง เป็นต้น
  • -กิจกรรมเสริมประสบการณ์ ครูอาจกำหนดสาระสำคัญเรื่องกลางวัน กลางคืน เช่น คนเราทำงานในเวลากลางวัน กลางคืน แตกต่างตามลักษณะเวลาและสภาพที่ปรากฏ การเลือกใช้อุปกรณ์หรือสิ่งของ ต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมกับลักษณะเวลา เช่น กลางวันที่แดดจ้าต้องสวมหมวก กางร่ม กลางคืนอากาศเย็นต้องห่มผ้าห่ม อาจมีการทดลอง เรื่อง กลางวัน กลาง คืน
  • -กิจกรรมเสรี ครูอาจจัดมุมวิทยาศาสตร์ให้เด็กได้ทดลองเรื่องกลางวันกลางคืน เช่น ทดลองเรื่องการเกิดเงาหรือเชิดหุ่นเงา ที่เกิดจากการแสงส่องกระทบวัตถุทึบแสง จัดมุมหนังสือเกี่ยวกับกลางวันกลางคืนให้เด็กได้อ่าน เป็นต้น
  • -กิจกรรมกลางแจ้ง ให้เด็กๆได้วิ่งเล่นที่สนาม เห็นแสงแดดและสิ่งต่างๆรอบตัว เล่นเกมวิ่งเล่นจับเงา วิ่งเหยียบเงาของเพื่อน
  • -กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ เมื่อครูให้สัญญาณจากเครื่องดนตรี เด็กจะเคลื่อนไหวพื้นฐาน แล้วเคลื่อนไหวแสดงท่าทางประกอบคำบรรยายเรื่อง กลางวัน กลางคืน เช่น กลางวันดวงอาทิตย์ดวงกลมๆ ส่องแดดจ้า ร้อนจริงๆ เด็กๆสวมหมวกเดินออกจากบ้านไป กลางคืนวันนี้ เราเห็นดวงจันทร์กลมๆ ส่องแสงสว่างนวลตาเย็นตาดีจริง
  • -เกมการศึกษา เล่นจับกลุ่มภาพกับเหตุการณ์ เช่น จัดภาพสัตว์ที่หากินในเวลากลางวัน เช่น นกกระจอก นกพิราบ สุนัข ไก่ เป็ด ฯลฯ และภาพสัตว์หากินในเวลากลางคืน เช่น หนู นกเค้าแมว เสือ เป็น

พ่อแม่ ผู้ปกครองจะสอนลูกเรื่องกลางวัน กลางคืนอย่างไร?

พ่อแม่ ผู้ปกครองจะสอนลูกเรื่องกลางวัน กลางคืน ที่บ้านได้ดังนี้
  • -สนทนาพูดคุยกับลูก ใช้คำว่า กลางวัน กลางคืน เช้า สาย บ่าย เย็น มืดค่ำ รุ่งเช้า สอดคล้องกับสภาพธรรมชาติขณะ นั้น เพื่อให้ลูกเข้าใจจากภาษา โดยมีสถานการณ์จริงเป็นสื่อเชื่อมโยงให้ลูกเข้าใจ เช่น เวลานี้เป็นเวลากลางคืนแล้ว เราเข้านอนกันเถอะ กลางคืนมืดเรามองไม่เห็น เราจึงต้องเปิดไฟ กลางวันแดดร้อนจ้า หนูควรสวมหมวก กลางวันเรามองเห็นต้น ไม้ ดอกไม้สวยนะ ตอนบ่ายแดดร้อนจัด เราเล่นในที่ร่มเงาไม้ ฯลฯ
  • -ชวนลูกมองท้องฟ้าในเวลาเช้าตรู่ (การดูท้องฟ้าเวลาสายๆ หรือเที่ยงวันและบ่าย แสงอาทิตย์เป็นอันตรายต่อสาย ตาเด็ก ควรดูยามเช้าและเย็นๆ มีแสงแดดอ่อนๆ) และยามเย็น ดูดวงอาทิตย์ขึ้นและตกจากขอบฟ้า สีท้องฟ้าใส สว่าง เป็นธรรมชาติของกลางวัน และดูท้องฟ้าเวลาดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้าไปแล้ว จะเห็นดวงจันทร์รูปร่างแตกต่างกันไปทุกวัน เห็นดวงดาว และเห็นท้องฟ้ามืดดำ หรือน้ำเงินเข้ม เป็นเวลากลางคืน
  • -ธรรมชาติของคนและสัตว์บางประเภท จะพักผ่อนในเวลากลางคืนและตื่นเวลาเช้า เป็นข้อสังเกตที่พ่อแม่ชวนลูก คิด และเห็นจากชีวิตประจำวัน สำหรับเด็กวัย 3 ขวบแล้ว จะสนใจและเข้าใจตนเองบ้างแล้ว ตลอดจนเห็นธรรมชาติของสัตว์เลี้ยงใกล้ตัว เช่น เวลายามเย็น นก ไก่ จะเข้าเกาะคอน และหยุดส่งเสียง เป็ดจะซุกหน้าเข้าปีกและหลับตา ตัวเด็กเองก็ง่วงนอน ตรงข้ามกันในเวลากลางวัน นับตั้งแต่เช้าตรู่ ไก่จะส่งเสียงขัน และคุ้ยเขี่ยดินหาอาหาร นกกาหว่าจะส่งเสียงร้อง เป็ดจะเริ่มไซ้ดิน เด็กเองจะรู้สึกสดชื่นและลุกขึ้นจากที่นอน
  • -ให้ลูกทำกิจวัตรประจำวันด้วยตนเอง โดยใช้เวลากลางวันกลางคืนเป็นข้อกำหนด เริ่มจากยามเช้า ฟ้าสว่าง เราตื่นนอน เราจะล้างหน้า แปรงฟัน อาบน้ำไปโรงเรียน เมื่อเรากลับจากโรงเรียน เราได้พักผ่อนกับครอบครัว และรับประทานอา หารเย็น จนท้องฟ้ามืดเช่นนี้เป็นเวลากลางคืน เด็กๆเข้านอน ต้องแปรงฟัน สวดมนต์ไหว้พระ และเข้านอน
  • -จัดหากระดาษสี สี กาว กรรไกร เชือก และเศษวัสดุเหลือใช้ ให้ลูกวาดภาพ ระบายสี หรือฉีก พับ ตัด ปะกระดาษเป็นภาพดวงอาทิตย์ ดวงดาว เมฆ ดวงจันทร์ ที่แสดงถึงกลางวัน กลางคืน
  • ร้องเพลง ท่องคำคล้องจอง เล่านิทาน ทายปริศนาคำทายที่เกี่ยวกับกลางวัน กลางคืน
  • -นำลูกไปแหล่งเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในท้องถิ่นที่จัดแสดงการเกิดกลางวัน กลางคืน เช่น ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึก ษา ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ มีศูนย์เครือข่ายใน 15 แห่งทั่วประเทศ โดยจำแนกเป็นศูนย์ที่ใช้ชื่อแบบเดียวกับส่วนกลาง จำนวน 13 แห่ง ในจังหวัดต่างๆ เช่น ที่รังสิต จังหวัดปทุมธานี จังหวัดสมุทรสาคร ตรัง นครศรีธรรมราช ยะลา อุบลราชธานี นคร ราชสีมา สระแก้ว ขอนแก่น ลำปาง กาญจนบุรี พระนครศรีอยุธยา นครสวรรค์
  • -เด็กวัย 5 ขวบ เริ่มเข้าใจการหมุนเวียนเปลี่ยนวันแล้ว แต่พ่อแม่ควรเพิ่มประสบการณ์การใช้เครื่องมือกำหนดวัน ได้แก่ นาฬิกา ปฏิทิน ใช้ควบคู่กับการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวัน เมื่อเริ่มวันใหม่ ชวนลูกดูและอ่านจากปฏิทิน วันนี้วันที่เท่าไหร่ เป็นวันอะไร (จันทร์ถึงอาทิตย์) กิจวัตรประจำวันของลูกทำอะไร เวลาเท่าไหร่ (ตื่นนอน รับประทานอาหาร เดิน ทางไปโรงเรียน ) ช่วงเวลานี้ลูกจะเห็นแสงสว่างจากดวงอาทิตย์ คือเวลากลางวัน จนช่วงบ่าย และค่ำ ปฏิบัติเช่นกัน แต่เป็นการสื่อสารให้ลูกรู้จักโดยไม่เคร่งเครียดหรือทำอย่างเป็นทางการ
  • -เล่นเกมสนุกๆ ให้หยอกล้อกับลูกวัยเตาะแตะ เช่น เล่นหลับตา ลืมตา ควบคู่กับคำพูดว่า กลางคืน กลางวัน เช่น กลางวัน (ลูกลืมตา) กลางคืน (ลูกหลับตา) หรือเปลี่ยนเป็นพ่อแม่พูดว่าลืมตา ลูกต้องพูดว่า กลางวัน เมื่อพูดว่า หลับตา ลูกจะพูดว่า กลางคืน เกมนี้เด็กจะรู้เพิ่มว่า กลางวันเราตื่น กลางคืนเรานอนพักผ่อน อีกเกมเหนึ่งมีการเล่นคล้ายๆกัน ใช้ฝ่ามือคว่ำแทนคำว่า กลางคืน (มืด) และหงายฝ่ามือใช้แทนคำว่า กลางวัน (สว่าง) นอกจากจะได้เพิ่มพูนความรู้ว่า เห็นดวงอาทิตย์ในเวลากลางวัน และแสงจากดวงอาทิตย์ทำให้เรามองเห็น และกลางคืนไม่เห็นดวงอาทิตย์ จึงมืด นอกจากนี้ การเล่นพูดที่สนุกสนาน และทำท่าทางอย่างรวดเร็ว ถูกต้อง เป็นการฝึกสมองทั้งซีกซ้ายและซีกขวาให้ทำงานอย่างสมดุล

เกร็ดความรู้เพื่อครู

กลางวัน กลางคืน เป็นธรรมชาติ มีสาเหตุมาจาก
  • -โลกหมุนรอบตัวเองเป็นเวลา 1 วันหรือ 24 ชั่วโมง พร้อมๆกับโลกหมุนรอบดวงอาทิตย์ 1 รอบ เป็นเวลา 1 ปี หรือ 325 วัน จึงเป็นเหตุให้โลกด้านที่หันเข้าหาดวงอาทิตย์ ได้รับแสงสว่างจากดวงอาทิตย์จึงเป็นเวลากลางวัน ตรงข้ามกันด้านที่หันหลังให้ดวงอาทิตย์จะไม่เห็นดวงอาทิตย์ จะเป็นเวลากลางคืน
  • -ดวงจันทร์อยู่ใกล้โลก และหมุนรอบโลกไปพร้อมๆกับที่โลกหมุนรอบตัวเองและรอบดวงอาทิตย์ เมื่อโลกด้านที่ไม่ได้รับแสงอาทิตย์ ท้องฟ้าจะมืด คนเราจึงเห็นดวงจันทร์ แต่ในเวลากลางวัน ดวงอาทิตย์ส่องแสงสว่างมาก ทำให้คนเราไม่เห็นดวงจันทร์


  • ผู้เขียน 
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ บุบผา เรืองรอง 
  • อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
  • อ้างอิง
  • http://taamkru.com/th/%E0%B8%AA%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99-%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%99/?fbclid=IwAR2IUjdpY1D5DJh0sSKuiqsT2awD_YKXZNn8vEuGCw42z5FJZ9ir5rJs_rQ


14 สิงหาคม 2563

Record 2

บันทึกอนุทินครั้งที่ 2
วันศุกร์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ.2563
เวลาเรียน 08:30-12:30 น.



    วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาจัดกลุ่มละ 5คน พร้อมเเจกกระดาษชาร์ทกลุ่มละ เเผ่น โดยมอบหมายงานให้ทำ เเล้วเเต่ละกลุ่มจะออกเเบบผลงานหัวข้อ การจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย มีดังนี้
                                                    -เด็กนึกถึงอะไร เพราะอะไร?
     -วิทยาศาสตร์นึกถึงอะไร เพราะอะไร?
      -ประสบการณ์นึกถึงอะไร เพราะอะไร?



เด็ก  
-พัฒนาการ เพราะเด็กมีการเปลี่ยนแปลง เพราะเด็กต้องมีพัฒนาการทั้ง4ด้าน
-การเลี้ยงดู เพราะเด็กแต่ละคนต้องการการเลี้ยงดูจากผู้ปกครองเพื่อให้เด็กสามารถช่วยเหลือ  ตนเองในชีวิตประจำวัน
-สื่อ เป็นตัวช่วยและเป็นตัวกลางที่ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้สิ่งต่างๆผ่านสื่อได้ง่ายมากขึ้น
การเล่น คือการที่เด็กได้เรียนรู้กิจกรรมต่างๆผ่านการเล่น

วิทยาศาสตร์
-การทดลอง ทำให้เราได้หาคำตอบในสิ่งที่ต้องการจะรู้ผ่านการทดลอง
-สิ่งรอบตัว เหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นรอบตัวเราและเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา
-การเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติ เป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลาและไม่สามารถควบคุมได้
-ปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นจริง ปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้น ไม่ได้มีคนสร้างขึ้นแต่เกิดขึ้นจริงและเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติการจัดประสบการณ์

แผนการจัดประสบการณ์ 
ช่วยทำให้ผู้สอนสามารถจัดประสบการณ์ให้แก่เด็กได้อย่างมีประสิทธิภาพ


                                   


กระดาษ 1 เเผ่นจะมีการวางเเผนอย่างไร?
-วางเเผนเนื้อหาว่าจะเอาอะไรมาใส่
-วางเเผนว่าใครจะทำอะไร
-วางเเผนรุปแบบที่จะนำเสนอ
-วางเเผนความสมดุลว่าเราจะวางกระดาษยังไง

เกณฑ์
-เนื้อหา
-การนำเสนอ
-ความสวยงาม (รูปแบบ)



🌷Question (คำถาม)🌷

เด็กปฐมวัย VS วิทยาศาสตร์

1. วิทยาศาสตร์เป็นยาขมสำหรับเด็กเด็กจริงหรือไม่?
ตอบ ไม่จริง เพราะเป็นเรื่องราวที่เด็กสนใจ เด็กปฐมวัยเป็นวัยที่เด็กมีความอยากรู้อยากเห็น เมื่อเด็กได้ลงมือทำก็จะกระตุ้นความอยากรู้อยากเห็น  ความสนใจ  และความรู้สึกของเด็กด้วยการค้นให้หาคำตอบ เด็กได้ลองลงมือปฏิบัติด้วยตนเองเด็กจะสนุก

2. ถ้าเด็กๆเรียนวิทยาศาสตร์ตั้งแต่อนุบาลจะยากเกินไปไหม?
ตอบ ไม่ยาก เพราะ เป็นเรื่องใกล้ตัวเด็ก มีวิธีการที่ง่าย

3. ควรจะให้เด็กๆอนุบาลเรียนรู้วิทยาศาสตร์อย่างไร?
ตอบ เรียนรู้จากเรื่องธรรมชาติใกล้ตัวเด็ก ผ่านการทดลอง ได้เห็นจริงๆได้ลงมือปฏิบัติกระทำจริงผ่านโดยประสาทสัมผัสทั้ง 5


Vocabulary (คำศัพท์)
1.Development : พัฒนาการ
2.Nature : ธรรมชาติ
3.The growth : การเจริญเติบโต
4.Medium : สื่อ
5.Observe : สังเกต

การประเมิน
ประเมินตนเอง : ตั้งใจและเป็นผู้ฟังที่ดี ร่วมทำกิจกรรมกับเพื่อนได้ดีและช่วยเหลือที่ตนเองพอจะทำได้อย่างเต็มที่ นำสิ่งที่อาจารย์คอมเมนต์ไปปรับปรุงเเก้ไข
ประเมินเพื่อน : เพื่อนมีความตั้งใจและช่วยเหลือกันระหว่างการทำงาน
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์คอมเมนต์ผลงานของเเต่ละกลุ่มเเละให้คำเเนะนำในการจัดเรียงกระดาษที่มีความเหมาะสม เเละอธิบายเพิ่มเติมในหัวข้อต่างๆได้อย่างชัดเจนเข้าใจง่าย


7 สิงหาคม 2563

Record 1

บันทึกอนุทินครั้งที่ 1
วันศุกร์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ.2563
เวลาเรียน 08:30-12:30 น.



         วันนี้เป็นการเรียนการสอนวันแรกของรายวิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย อาจารย์ได้อธิบายรายวิชานี้ ว่าต้องเรียนอะไรบ้าง มีเนื้อหาอะไรที่ต้องเรียน ก่อนที่จะทำกิจกรรมอาจารย์ก็ยังได้อธิบายเกี่ยวกับการทำบล็อกของรายวิชานี้ว่าต้องใส่อะไรบ้างลงไปในบล็อกโดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

-ชื่อเรื่อง Blogger การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยต้องใช้ภาษาอังกฤษ
-งานวิจัย บทความ ตัวอย่างการสอน อย่างงละ 1 เรื่องไม่ซ้ำเพื่อน
-นาฬิกา ปฏิทิน หน่วยงานสนับสนุน  โปรไฟล์
-ต้องมีการประเมินอาจารย์ ประเมินเพื่อนเเละประเมินตนเองทุกครั้ง
-มีคำศัพท์เกี่ยวกับการเรียนในเเต่ละครั้ง 5 คำ


🌷 กิจกรรม 🌷
               อาจารย์ได้ให้นักศึกษาจัดกลุ่มละ 5 คน โดยให้ตั้งชื่อกลุ่มพร้อมใส่รูปสมาชิกจากนั้น  อาจารย์ได้มอบหมายงานให้ทำ mind mapping  หัวข้อการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย โดย อาจารย์ก็ได้ให้กระดาษมาคนละ 1 แผ่นความรู้ของนักศึกษาเกี่ยวกับเรื่องวิทยาศาสตร์ว่าต้องเรียนอะไรบ้างตามความคิดของนักศึกษา


🌻ภาพประกอบ mind  mapping 🌻




                                                         🧸Vocabulary (คำศัพท์) 🧸
                                                         1.Scince :วิทยาศาสตร์
                                                         2.Experience :ประสบการณ์
                                                         3.Course :รายวิชา
                                                         4.Assessment :การประเมิน
                                                         5.Early Childhood:เด็กปฐมวัย